Element of Web Layout บ้านศิลไทย

ละครใน ประวัติความเป็นมาของโขนไทย

ประวัติความเป็นมาของโขนไทย

โขน จัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า "โขน" ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทย เรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้

เครื่องแต่งกาย ของโขนไทย

เครื่องแต่งกายของตัวละครในการแสดงโขน

เครื่องแต่งกายสำหรับใช้ในการแสดงโขน ใช้การแต่งกายแบบยืนเครื่อง ซึ่งเป็นการแต่งกายจำลองเลียนแบบ จากเครื่องทรงต้นของพระมหากษัตริย์แบบโบราณ ที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตา แบ่งเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายมนุษย์ เทวดา พระ นาง ฝ่ายยักษ์ และ ฝ่ายลิง สำหรับบ่งบอกถึงยศถาบรรดาศักดิ์และตำแหน่ง นอกจากนั้นตัวละครอื่น ๆ จะแต่งกายตามแต่ลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ฤๅษี กา ช้าง ม้า วัว ควาย ฯลฯ สวมหัวโขนซึ่งมีการกำหนดลักษณะและสีไว้อย่างเป็นระบบและแบบแผน ใช้สำหรับกำหนดให้ใช้เฉพาะกับตัวละคร สีของเสื้อเป็นการบ่งบอกถึงสีผิวกายของตัวละครนั้น ๆ เช่น
การตั้งและการเก็บรักษาหัวโขน

การตั้งและการเก็บรักษาหัวโขน

หัวโขนสำหรับใช้สวมใส่ศีรษะในการแสดงโขนนั้น เป็นการแสดงออกทางด้านความสำคัญของตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ มีความประณีตสวยงาม ตามแบบฉบับของ ช่างทำหัวโขน ที่สามารถสร้างสรรค์หัวโขนให้มีลักษณะและรูปลักษณ์ที่สื่อถึงเพศ เผ่าพงศ์วงศ์ชาติเชื้อ หรือแม้แต่การแสดงออกด้วยอารมณ์ทางสีหน้า บางหัวสร้างขึ้นเพื่อเป็นการชี้บ่งบุคลิกลักษณะเฉพาะของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ บางหัวถูกสร้างขึ้นให้เปรียบเสมือนศีรษะของเทพ ผู้เป็นที่เคารพนับถือ กราบไหว้บูชา